เมนู

อรรถกถาอัมพวนเปตวัตถุที่ 12



เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
อัมพเปรต จึงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า อยญฺจ เต โปกฺขรณี
สุรมฺมา
ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มีคฤหบดีคนหนึ่ง ผู้เสื่อมสิ้นจาก
โภคสมบัติ. ภริยาของเขาก็ตาย ยังมีธิดาคนเดียวเท่านั้น. เขาได้
ให้ธิดานั้นไปอยู่เรือนมิตรของตน เอาเงินที่ยืมมา 100 กหาปณะ
ไปซื้อสิ่งของ บรรทุกเกวียนไปค้าขาย ไม่นานนักก็ได้เงิน 500
กหาปณะ อันเป็นกำไรพร้อมทั้งต้นทุนแล้วกับมาพร้อมด้วยเกวียน
ในระหว่างทางพวกโจรดักซุ่มปล้นหมู่เกวียน. พวกหมู่เกรียนแตก
กระจายหนีไป. ฝ่ายคฤหบดีนั้น ซ่อนกหาปณะไว้ที่กอไม้แห่งหนึ่ง
แล้ว แอบอยู่ในที่ไม่ไกล. พวกโจรจับคฤหบดีนั้นฆ่าทิ้งเสีย. เพราะ
ความโลภในทรัพย์ เขาจึงบังเกิดเป็นเปรตในที่นั้นนั่นเอง.
พวกพ่อค้าไปยังกรุงสาวัตถี เล่าเรื่องนั้น ให้ธิดาของเขาทราบ.
ธิดานั้น เกิดโทมนัสอย่างยิ่ง ร่ำไรอย่างหนัก เพราะความตาย
ของบิดา และเพราะภัยแห่งเลี้ยงชีพ. ลำดับนั้น กฏุมพีผู้เป็นสหาย
ของบิดานั้น จงกล่าวปลอบโยนนางว่า ธรรมดาว่า ภาชนะดิน
ทั้งหมดมีความแตกไปเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็มี
การแตกไปในที่สุด ฉันนั้นเหมือนกัน. ธรรมดาว่า ความตายย่อม
ทั่วไปแก่สรรพสัตว์ และไม่มีการตอบแทนได้ เพราะฉะนั้น เจ้า

อย่าเศร้าโศก อย่าปริเทวะ ถึงบิดาไปนักเลย เราจะเป็นบิดาของ
เจ้า เจ้าจงเป็นธิดาของเรา เราจะทำหน้าที่แทนบิดาของเจ้า เจ้า
อย่าเสียใจ จงยินดีอยู่ในเรือนนี้ ให้เหมือนเรือนบิดาของเจ้าเถิด.
หญิงนั้น สงบความเศร้าโศกลงได้ ตามคำของกฏุมพีนั้น เกิดความ
เคารพ และความนับถือมาก ในกฏุมพีนั้น เหมือนในบิดาเป็นผู้มี
ปกติทำการขวนขวาย ประพฤติตามกฎุมพีนั้น โดยภาวะที่ตนเป็น
คนกำพร้า ปรารถนาจะทำกิจเพื่อผู้ตาย อุทิศถึงบิดา จึงต้มข้าว
ยาคูแล้ว วางผลมะม่วงมีรสอร่อย สุกได้ที่เหมือนสีเหมือนมโนศิลา
วางไว้ในถาดสัมฤทธิ์ให้ทาสีถือเอาข้าวยาคู และผลมะม่วง ไปยัง
วิหาร ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ขอพระองค์จงทำความอนุเคราะห์ ด้วยการรับทักษิณา
ของหม่อมฉัน พระศาสดามีพระมนัสอันพระมหากรุณากระตุ้น
เตือน เมื่อจะทรงทำมโนรถของนางให้เต็มเปี่ยม จะแสดงอาการนั่ง.
นางร่าเริงยินดี ได้ลาดผ้าอันบริสุทธิ์สะอาดที่ตนน้อมเข้าไปใน
บวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ประทบนั่งบนอาสนะที่แล้ว.
ลำดับนั้น หญิงนั้น จึงน้อมข้าวยาคูเข้าไปถวายพระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับข้าวยาคูแล้ว ลำดับนั้น
จึงถวายข้าวยาคูแม้แก่ภิกษุทั้งหลาย อุทิศสงฆ์แล้วล้างมือ น้อม
ผลมะม่วงเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก. พระผู้พระภาคเจ้า
ทรงเสวยผลมะม่วงเหล่านั้น. นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทักษิณาที่หม่อมฉัน
บำเพ็ญให้เป็นไป ด้วยการถวายเครื่องลาด ข้าวยาคู และผลมะม่วง
นั้น ขอจงถึงบิดาของหม่อมฉันเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า
จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด แล้วทรงกระทำอนุโมทนา นางถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทำปทักษิณแล้วหลีกไป. พอนางอุทิศ
ส่วนบุญ เปรตนั้นก็กลับได้ สวนมะม่วง วิมาน ต้นกัลปพฤกษ์
และสระโบกขรณี กับทิพยสมบัติอันใหญ่หลวง.
ครั้นสมัยต่อมา พ่อค้าเหล่านั้น เมื่อจะไปค้าขาย ได้เดินไป
ทางนั้นนั่นแหละ ได้พักแรมคืนหนึ่ง ในที่ที่ตนได้เคยอยู่มาก่อน.
เปรตนั้น เห็นพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว จึงแสดงตนแก่พ่อค้าเหล่านั้น
พร้อมกับสวนและวิมานเป็นต้น. พ่อค้าเหล่านั้น เห็นดังนั้น เมื่อ
จะถามถึงสมบัติที่เปรตนั้นได้มา จึงได้กล่าวคาถา 2 คาถานี้ว่า :-
สระโบกขรณี ของท่านนี้ น่ารื่นรมย์ดี
มีพื้นที่ราบเรียบ มีท่างดงาม มีน้ำมาก ดารดาษ
ไปด้วยปทุมชาติต่าง ๆ มีดอกอันบานสะพรั่ง
เกลื่อนกล่นด้วยหมู่ภมร ท่านได้สระโบกขรณี
อันเป็นที่ฟูใจนี้อย่างไร สวนมะม่วงของท่านนี้
น่ารื่นรมย์ดี เผล็ดผลทุกฤดูกาล มีดอกบานเป็น
นิตย์นิรันดร์ เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ภมร ท่าน
ได้วิมานนี้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุรมฺมา แปลว่า น่ารื่นรมย์.
บทว่า สมา แปลว่า มีพื้นที่ราบเรียบ. บทว่า สุติตฺถา ได้เก่ มีท่าดี
เพราะมีบันไดแล้วด้วยแก้ว บทว่า มโหทกา แปลว่า มีน้ำมาก.
บทว่า สพฺโพตุกํ ได้แก่ นำมาซึ่งความสุขทุกฤดูกาล ด้วย
ต้นไม้ที่สะพรั่งไปด้วยดอกและผลเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า ย่อมเผล็ดผล ดังนี้. บทว่า สุปุปฺผิตํ แปลว่า บานสะพรั่งอยู่
เป็นนิตย์.
เปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะบอกถึงเหตุแห่งการได้สระโบก-
ขรณีเป็นต้น จึงกล่าวคาถาว่า :-
สระโบกขรณี มีร่มเงาอันเยือกเย็น น่า
รื่นรมย์ใจ ข้าพเจ้าได้ในที่นี้ เพราะทานที่ธิดา
ของข้าพเจ้าถวายมะม่วงสุก น้ำ ข้าวยาคู แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน เม อิธ ลพฺภติ ความว่า เพราะ
ทานที่ธิดาของข้าพเจ้าถวายมะม่วงสุก น้ำ และข้าวยาคู แด่พระผู้-
มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ อุทิศข้าพเจ้า มะม่วงสุกอันเผล็ดผล
ทุกฤดูกาล ก็ได้สำเร็จเป็นน้ำทิพย์ ในสระโบกขรณี อันเป็นที่ฟูใจ
อันเป็นทิพย์นี้ ด้วยการให้ข้าวยาคูและเครื่องลาด ย่อมให้สำเร็จ
เป็นสระโบกขรณี มีร่มเงาเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ใจ ในสวน วิมาน
และต้นกัลปพฤกษ์ เป็นต้นในที่นี้.

ก็แลเปรตนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงนำพ่อค้าเหล่านั้น
ไปแสดงทรัพย์ 500 กหาปณะนั้น แล้วกล่าวว่า ขอท่านจงรับเอา
กึ่งหนึ่งจากส่วนนี้ จงให้แก่ธิดาของเรา ด้วยประสงค์ว่า นางจง
ชำระหนี้ ที่เรากู้เขามากึ่งหนึ่งตัวจงเป็นอยู่สบายเถิด. พ่อค้า
ถึงกรุงสาวัตถี โดยลำดับแล้ว จึงบอกแก่ธิดาของเปรตนั้นแล้ว
ได้ให้ส่วนที่เปรตนั้น ได้ให้แก่ตน แก่นางนั่นเอง. นางได้ใช้หนี้
ทรัพย์ 100 กหาปณะ แก่พวกเจ้าหนี้ นอกนั้น ได้ให้แก่กฏุมพีนั้น
ผู้เป็นสหายบิดาตน ส่วนตนเองทำการขวนขวายอยู่อาศัย. กฏุมพี
นั้น ได้ให้คืนแก่นางนั้นนั่นเอง ด้วยพูดว่า จงเป็นทรัพย์ของตัวเธอ
ทั้งหมดเถอะ แล้วแต่งงานนางกับุตรคนโตของตน.
เมื่อกาลผ่านไป นางได้บุตรคนหนึ่ง เมื่อจะล้อเล่นกับบุตร
จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
ขอท่านทั้งหลาย จงดูผลทาน ที่จะพึงเห็น
เอง และผลแห่งความข่มใจ ความสำรวม เรา
เป็นทาสีอยู่ในตระกูลของลูกเจ้า บัดนี้ มาเป็น
ลูกสะใภ้ เป็นใหญ่ในตระกูล

ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดา ทรงตรวจดูนางว่ามีญาณ
แก่กล้า จึงทรงแผ่พระรัศมีไปแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ประหนึ่ง
ประทับอยู่เฉพาะหน้า แล้วได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า :-
ความประมาท ย่อมครอบงำ บุคคลผู้ติด
อยู่ในความยินดียินร้าย ในความรักความชัง

ในทุกข์และสุข.
ในเวลาจบคาถา นางดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ในวันที่สอง
นางได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ได้
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วแสดงธรรม
แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชน
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอัมพวนเปตวัตถุที่ 12

13. อักขรุกขเปตวัตถุ



ภุมมเทวดาตนหนึ่งได้กล่าวเตือนอุบาสกคนหนึ่งว่า



[133] บุคคลให้สิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่มี แต่ผล
อย่างอื่นที่น่าปรารถนา น่าใคร่มีมาก เพราะฉะนั้น
ท่านจงให้ทาน แล้วท่านจักพ้นจากทุกข์และความ
ฉิบหาย ทั้งจักได้ประสบสุขอันเป็นไปในปัจจุบัน
และสัมปรายภพ เพราะทานนั้น ขอท่านจงตื่น
เถิดอย่าได้ประมาท.
จบ อักขรุกขเปตวัตถุที่ 13

อรรถกถาอักขรุกขเปตวัตถุที่ 13



เรื่องอักขทายกเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยํ ททาติ น ตํ โหติ
ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี มีอุบาสก
ชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง เอาเกวียนหลายเล่มบรรทุกสินค้าไปขาย
ต่างประเทศ ขายสินค้าของตนในประเทศนั้นแล้ว ก็ซื้อเอาสินค้า
ต่างประเทศกลับมา เดินทางมุ่งไปกรุงสาวัตถี. เมื่ออุบาสกนั้น
กำลังเดินทางเพลาเกวียนเล่มหนึ่งหักในดง. ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่ง
ได้เอาผึ่งและขวาน เพื่อจะตัดไม้ ออกจากบ้านตน เที่ยวไปในป่า
ถึงที่นั้น พบอุบาสกนั้น ผู้ถึงความโทมนัส เพราะเพลาเกวียนหัก